อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ลูกหลานต้องรู้

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วก็อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น กระดูกข้อมือ ข้อสะโพก หรือกระดูกสันหลังหัก เลือดคั่งในสมอง เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ เนื่องมาจากภาวะความเสื่อมของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะความเสื่อมของตา นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สูงอายุมีความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มได้บ่อย

จากสถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากการ “พลัดตกหกล้ม” สูงถึงปีละ 1,600 คน ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับสองในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ รองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดย 1 ใน 3 พบว่ามักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ และปัญหาที่พบบ่อยของผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุดังกล่าว คือ กระดูกสะโพกแตก หัก หรืออุบัติเหตุทางสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีอัตราการความพิการ และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงมาก

สาเหตุของอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น มองเห็นไม่ชัด หูตึง อาจไม่ได้ยินเสียงรถ เสียงแตร เวลาข้ามถนนระบบการทรงตัวไม่ดี เช่น หูชั้นในเริ่มเสื่อม กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงในการช่วยพยุงตัว ข้อไม่ดี ระบบประสาทสัมผัสเสื่อม เช่น เป็นเบาหวานมานาน ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า
  • สิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นบ้านลื่น โดยเฉพาะพื้นผิวขัดมัน หรือ พื้นเปียก บันไดบ้านลื่น หรือไม่มีราวบันไดห้องน้ำ พื้นลื่นเปียก ไม่มีราวเกาะพื้นที่มีสิ่งของวางระเกะระกะ กีดขวาง เช่น สายไฟ ของเล่นเด็ก ผ้าขี้ริ้ว สัตว์เลี้ยง
  • ยา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ
  • เสื้อผ้าที่ใส่ หลวม ยาวรุ่มร่าม มีเชือกยาวไป
  • เครื่องมือช่วยเดินไม่ดี เช่น ไม้เท้าที่ไม่มียางกันลื่น หรือ รถเข็นที่ไม่มีที่ห้ามล้อ

อุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

  • ลื่นหกล้ม พบมากที่สุดโดยเฉพาะลื่นล้มในห้องน้ำ ทำให้กระดูกสะโพกหัก บางรายอาจเสียชีวิตได้ เช่น มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจไตวายร่วม ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เมื่อต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
  • พลัดตกหกล้ม เกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-75 ปี มักเกิดจากการตกเตียง ตกบันได เก้าอี้ ระเบียงบ้าน ต้นไม้ ตกหลุม และตกท่อ เป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้นในบ้านเป็นส่วนใหญ่
  • ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เนื่องจากประสาทสัมผัสความรู้สึกร้อนเสื่อมลง เช่น ขณะอาบน้ำ ปรุงอาหาร
  • สำลักอาหาร น้ำ และอาหารติดค้างในหลอดลม พบบ่อยในผู้สูงอายุที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหว แขน ขา
  • อ่อนแรง เป็นอัมพาต ฟันปลอมหลวม
  • อุบัติเหตุอื่น ที่พบบ่อยและควรระวัง เช่น หยิบยาผิดจากสายตาไม่ดี แสงสว่างไม่เพียงพอ รับประทานยาเกิน หรือขาดยาจากการลืม และถูกรถเฉี่ยวชนขณะเดินบนถนน ข้ามถนนเนื่องจากสายตาไม่ดี หูไม่ได้ยินเสียงชัดเจน และการตัดสินใจหลบหลีกไม่ทัน

เมื่อผู้สูงอายุ เกิดอุบัติเหตุจากการหกล้ม พบว่ากระดูกส่วนที่หัก และพบได้บ่อย คือ กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก ซึ่งเมื่อเกิดกระดูกหักโอกาสที่ผู้สูงอายุมักจะต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน เช่น ต้องนอนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ ซึ่งมักจะเกิดเร็วกว่าในวัยอื่น เนื่องจากผิวหนังของผู้สูงอายุเปราะบาง แรงต้านกับความเสียดทานน้อย เมื่อนอนอยู่กับที่นานๆ และบางครั้งประกอบกับการที่ผู้สูงอายุมีภาวะปัสสาวะเล็ด โดยเฉพาะในเพศหญิงความชื้นแฉะทำให้เกิดมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้ง่าย นอกจากนี้การนอนอยู่นานๆ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในผู้สูงอายุที่มีประวัติการหกล้มมาแล้ว โอกาสที่จะเกิดการหกล้มซ้ำมีได้มาก ถึงแม้ว่าจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยพยุงเวลาเดินก็ตาม เนื่องจากกล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง การทรงตัวยังไม่ดีเมื่อล้มครั้งที่สองความรุนแรงจะมีมากกว่าการหกล้มในครั้งแรก

คำแนะนำเพิ่มเติม ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ลูกหลานควรตรวจประเมินความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หมั่นคอยสังเกตอาการ และความผิดปกติของการมองเห็นของผู้สูงวัย สังเกตอาการ และความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เนื่องจากผู้สูงอายุมีกลไกการทำงานที่ควบคุมการทรงตัวของระบบอวัยวะต่างๆ ลดลง ทำให้สมดุลในการทรงตัวบกพร่อง สังเกตอาการและความผิดปกติทางด้านการรับรู้ เช่น สับสน หลงลืมเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล เป็นต้น รวมทั้งมีการรับรู้ ตัดสินใจ หรือตอบสนองได้ช้าลง ทบทวน และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาที่ทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม หมั่นคอยประเมินสภาพบ้านที่อยู่อาศัย ทั้งในบ้านและบริเวณบ้าน อย่างไรก็ตาม ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้านควรระมัดระวัง ทันทีที่ล้มควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่ากระดูกหัก หรือไม่ โดยเฉพาะกระดูกสะโพก และสมองได้รับการกระทบกระเทือนหรือไม่ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่าคิดไปเองว่าอาการลุกยืนเดินไม่ได้เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามปกติ หรือเกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า

ปรึกษาพูดคุยกับ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบ้านหอมลำดวน ซอยวิภาวดีรังสิต 44 กทม.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกรณ์รวี แสนดวง เบอร์โทรศัพท์ 091-3331-909

Facebook : บ้านหอมลำดวน

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart